ประวัติการก่อตั้งและพัฒนาการของคณะเซอร์ร่า
คณะเซอร์ร่ามีประวัติเริ่มต้น ในระหว่างฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวของปี 1934 ณ เมืองซีแอตเติล มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อฆราวาสคาทอลิกชาย 4 คน คือ แดน รูนีย์/ ริชาร์ด วาร์ด / แฮโรลต์ แฮเวอลี /และลีโอ ชารคีย์ ได้พบปะกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง และเห็นความจำเป็นที่จะมีองค์กรที่จะทำงานเชิดชูพระศาสนจักรคาทอลิก ด้วยการที่สมาชิกขององค์กรจะรักใคร่สามัคคีทำงาน และแสวงหาความรู้ ความเข้าใจในพระศาสนาอย่างต่อเนื่องร่วมกัน

เมื่อได้เชิญมิตรสหายบางท่าน มาร่วมอุดมการณ์นี้ พวกเขาก็ได้ก่อตั้งกลุ่มเซอร์ร่ากลุ่มแรกขึ้นที่เมืองซีแอตเติล เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1935 ด้วยการสนับสนุนของพระสังฆราชเจรัลด์ ชอเนสซี่ พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลซีแอตเติ้ล จอห์น จาเนท สมาชิกรุ่นแรกคนหนึ่ง และต่อมาได้เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มเซอร์ร่าแห่งชิคาโก ได้เสนองานส่งเสริมกระแสเรียกเป็นพระสงฆ์ให้เป็นงานของกลุ่ม ดังนั้นในวันที่ 12 มิถุนายน 1935 วัตถุประสงค์เดิมของกลุ่มซีแอตเติล จึงได้ขยายออกเพื่อครอบคลุมงานนี้
ภายในสามปีต่อมากลุ่มเซอร์ร่าได้ก่อตั้งกลุ่มใหม่เพิ่มเติมขึ้นที่เมืองสโปเกน ปอร์ตแลนด์ ทาโคมาและ ซาน- ฟรานซิสโก ภายใต้การนำและช่วยเหลือของ กลุ่มซีแอตเติล เมื่อถึงจุดนี้จึงเห็นความจำเป็นที่กลุ่มทั้งหมด จะต้องมีแนวทาง และการประสานงานที่เป็นหนึ่งเดียวกันในกิจกรรมต่างๆของคณะ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 1938 ผู้แทนจากกลุ่มเซอร์ร่าทั้ง 5 กลุ่มได้ลงมติที่จะรวมตัวกันก่อตั้งขึ้นเป็น องค์กรเซอร์ร่าสากล โดยให้นำวัตถุประสงค์ของผู้ก่อตั้งกลุ่มเซอร์ร่ากลุ่มแรกมาเป็นวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กรนี้ ดร.โธมัส วี.ซีฮาน(Dr.Thomas V. Sheehan)แห่งกลุ่มซีแอตเติล ได้รับเลือกเป็นประธานเซอร์ร่าสากลคนแรกจนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 1941 และพระสังฆราช เจรัลด์ ชอเนสซี่เป็นจิตตาธิการคนแรกของเซอร์ร่าสากลจนถึงปี 1946
ในปี 1946 คณะกรรมการบริหารองค์การเซอร์ร่าสากล พร้อมด้วยพระคาร์ดินัลซามูแอล สตริทช์ พระอัครสังฆราชแห่งนครชิคาโกขณะนั้นและเพิ่งได้รับเชิญให้เป็นจิตตาธิการของเซอร์ร่าสากลองค์ใหม่ จึงตัดสินใจที่จะเปิดที่ทำการใหญ่ขึ้นที่นครชิคาโก พร้อมด้วยบุคลากรทำงานเต็มเวลา เพื่อช่วยงานบริหารต่างๆขององค์กร การตัดสินใจนี้ได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ประจำปี ที่นครชิคาโก
ต่อมาในเดือนเมษายน 1947 คณะกรรมการบริหาร ได้แต่งตั้ง Mr. Harry O Haire เป็นลูกจ้างประจำคนแรกในตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหาร เพื่อรับผิดชอบดูแลงานประจำของเซอร์ร่าสากล
ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 โดยคำร้องขอของคาร์ดินัล สตริทช์ จิตตาธิการเซอร์ร่าสากลสันตะสำนัก แผนกงานกระแสเรียกชีวิตสงฆ์ ได้รับคณะเซอรร่าเข้าเป็นองค์กรหนึ่งที่ทำงานด้านส่งเสริมทะนุบำรุงกระแสเรียกสงฆ์ สังกัดสมณกระทรวงว่าด้วยสามเณราลัยและการศึกษาคาทอลิก
คณะเซอร์ร่าได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก ระหว่างทศวรรษ 1950 มีการก่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นอีก ในหลายมลรัฐของอเมริกา คานาดา เม็กซิโก เปรู อังกฤษ และอิตาลี
ในทศวรรษ 1960 ด้วยการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อไปของคณะ ทำให้คณะได้ขยายไปยัง สเปน เวเนซูเอลา บราซิล ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันถึงบทบาทอันสำคัญ ในพระศาสนจักร ในระดับสากล คณะเซอร์ร่าได้เข้าร่วมประชุมใหญ่นานาชาติเรื่องกระแสเรียก ครั้งที่ 1 ณ กรุงโรม ในปี 1962 ความสำเร็จต่อมาในทศวรรษ 1970 สะท้อนให้เห็นได้จากการจัดตั้งสภาเซอร์ร่าระดับประเทศ ในอังกฤษและบราซิล และการอนุมัติให้สังฆานุกรถาวรเป็นสมาชิกได้ นอกจากนั้น คณะเซอร์ร่ายังได้เป็นสมาชิกองค์กรของคณะกรรมการกระแสเรียกคาทอลิกแห่งชาติด้วย
ในทศวรรษ 1980 ได้มีการก่อตั้งสภาเซอร์ร่าระดับประเทศที่สเปน อิตาลี เม็กซิโก และฟิลิปปินส์ และขยายกลุ่มต่อไปยังแอฟริกา นิวซีแลนด์ กานา ไนจีเรีย และสวิสเซอร์แลนด์ (คณะเซอร์ร่าได้เข้ามาในประเทศไทยในปี 1980)
คณะเซอร์ร่าได้มีโอกาสเข้าร่วมในการประชุมใหญ่นานาชาติ ว่าด้วย เรื่องกระแสเรียก ครั้งที่ 2 ในปี 1981
ในการประชุมใหญ่ประจำปี 1986 ของคณะเซอร์ร่า ในเมือง มิลวอคกี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้มีการแก้ไขธรรมนูญและข้อบังคับของคณะ ให้สามารถรับสุภาพสตรีเป็นสมาชิกเซอร์ร่าได้
ในปี 1990 คณะเซอร์ร่าได้กำหนดให้มีโครงการแผนระยะยาวซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ มีชื่อว่า วิสัยทัศน์ 2000 ซึ่งเริ่มในปี 1991 คณะเซอร์ร่ากำลังก้าวไปข้างหน้ามุ่งสู่ปี 2000 สมาชิกเซอร์ร่าทั่วโลกได้สนองตอบคำท้าทายที่จะเป็น แขนแห่งกระแสเรียกของพระศาสนจักร
ในสหรัฐอเมริกาและคานาดา สภาเซอร์ร่าแห่งประเทศทั้งสองซึ่งก่อตั้งในปี 1994 ปี 1996 ตั้งสภาเซอร์ร่าของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแปซิฟิใต้ ได้ทำงานสนองความต้องการเฉพาะและหลากหลายของบรรดาสมาชิกจาก หลายเชื้อชาติและต่างภาษา พร้อมกับการเมืองที่เปลี่ยนแปลงในยุโรปตะวันออก ในช่วง 10 ปี ต่อมาจึงได้มีกลุ่มเซอร์ร่าใหม่เกิดขึ้น ในฮังการี โครเอเชีย สโลเวเนีย สาธราณรัฐเช็ค รูเมเนีย ตลอดจนถึงในเอเชียใต้ เมียนม่าร์ อินเดีย บังคลาเทศ และสิงคโปร์
ในปีค.ศ. 2000 กลุ่มเซอร์ร่าแคนนาดาได้แยกจากสภาเซอร์ร่าสหรัฐอเมริกา ตั้งเป็นสภาเซอร์ร่าแคนนาดา และในปี ค.ศ. 2001 ตั้งสภาเซอร์ร่าประเทศไทย
ในปี 2008 มีกลุ่มเซอร์ร่าทั้งสิ้น 1,109 กลุ่ม มีสมาชิกมากกว่า 20,000 คน ใน 46 ประเทศ ใน 6 ภูมิภาคของโลก |